วันศุกร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

เรียนครั้งที่ 7

บันทึกอนุทิน


วิชา การจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ กฤตธ์ตฤณน์     ตุ๊หมาด
ครั้งที่  7   เวลาเรียน 08.30 - 10.00 น.  12.20 - 15.00 น.




หมายเหตุ: วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากสอบกลางภาคค่ะ











วันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

เรียนครั้งที่ 6



บันทึกอนุทิน


วิชา การจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ กฤตธ์ตฤณน์     ตุ๊หมาด
ครั้งที่  6   เวลาเรียน 08.30 - 10.00 น.  12.20 - 15.00 น.


วันที่ 18 กุมภาพันธ์  พ.ศ  2558




ความรู้ที่ได้รับ
                            
อาจารย์อธิบายการทำกิจกรรมวันนี้


กิจกรรม 14 กิจกรรม


อุปกรณ์


กิจกรรมที่ 1 


 วาดภาพด้วยสีน้ำ
กิจกรรมที่ 2 
การหยดสี
กิจกรรมที่ 3

การเทสี


กิจกรรมที่ 4

การเป่าสี

กิจกรรมที่ 5 


อุปกรณ์ในการเป่า



  
การเป่าฟองสบู่

กิจกรรมที่ 6

การกลิ้งสี

กิจกรรมที่ 7

การพับสี


กิจกรรมที่ 8

การพ่นสี


กิจกรรมที่ 9

การย้อมสี



กิจกรรมที่10

จุดที่สร้างภาพ 


อันนี้ป็นงานกลุ่มเพื่อนๆช่วยกันทำภายในกลุ่มโดยออกความคิดเห็นกันว่าจะวาดอะไรดีทำให้ผลงานที่ออกมาเสร็จสมบูรณ์


กิจกรรรมที่ 11



การเพ้นท์ก้อนหิน

กิจกรรมที่ 12

การละเลงสี

เป็นงานกลุ่มที่ทุกคนจะต้องช่วยกันวาดเป็นรูปอะไรก็ได้และช่วยกันตกแต่งทำให้ผลงานออกมาสวย

 กิจกรรมที่13



 การดึงเส้นด้ายชุบสี


กิจกรรมที่ 14 


การสลัดสี




 การนำไปใช้

1. การหยดสีหรือการเป่าสีเด็กๆสามารถทำได้และเรียนรู้และเราสามารถนำกิจกรรมที่ได้ความรู้ในวันนี้ไปต่อยอดปรับปรุงใช้กับเด็กและวิชาอื่นๆได้ในอนาคตการเป็นครู

2.สามารถนำทักษะการผสมสี ทักษะการวาดรูปจากสีน้ำไปพัฒนาและปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น
3.สามารถนำเทคิควิธีการสอนของอาจารย์ไปใช้ในเวลาเราจะฝึกสอนหรือเป็นครูในอนาคตในการทำศิลปะสร้างสรรค์
4.ได้ฝึกจินตนาการและการใช้เชือกใช้ใบไม้ ลูกแก้ววัสดุที่ได้มาทำเป็นผลงานที่สวยงาม


การประเมิน


ประเมินตัวเอง 

-วันนี้อากาศเย็นสบายฟ้าครึ้มๆเหมือนฝนจะตกทำให้ง่วงนอนแต่พออาจารย์เริ่มอธิบายการทำกิจกรรมก็ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายว่ามีงานอยู่ 14 งาน งานกลุ่ม 2 งาน ตัวเองทำ 12 งาน พออาจารย์พูดอธิบายเสร็จก็รีบไปทำงานของตัวเองแต่ก็ยัง งง นิดๆแต่พอทำไปทำมาก็เสร็จทุกกิจกรรมและจากนั้นก็ช่วยกันทำงานกลุ่มที่อาจารย์สั่ง

ประเมินเพื่อน

-เพื่อนๆเตรียมอุปกรณ์ที่ได้รับมอบหมายมาครบทุกกลุ่มและตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายจากนนั้นก็ต่างคนต่างทำกิจกรรมที่อาจารย์สั่งข้างต้น เพื่อนๆแต่ละคนมุ่งมั่นทำกิจกรรมที่ได้รับมอบหมายทำให้ผลงานออกมาสวยทุกคนพอเสร็จแล้วก็ช่วยกันและสามัคคีทำงานกลุ่มอีก 2 ชิ้น ก็เสร็จตามที่อาจารย์กำหนด

ประเมินอาจารย์

-อาจารย์เตรียมพร้อมมากในการสอนครั้งนี้ มองตอนแรกเหมือนพนักงานในร้านกาแฟเลยค่ะ เตรียมชุด อุปกรณ์มาให้นักศึกษาครบ เหมาะสมที่จะเป็นแบบอย่างของการเป็นครูมากๆ อาจารย์อธิบายการทำกิจกรรมวันนี้ได้ละเอียดแต่บางอันก็ยังไม่เข้า งง อยู่นิดๆแต่อาจารย์ก็เดินมาดูตามกลุ่มที่ทำกิจกรรมว่าทำได้ไม่ได้ แต่วันนี้อาจารย์ไม่ค่อยเดินมากนักเพราะว่า มัวแต่ข้นแป้ง และอาจารย์มีเทคนิควิธีการในการสอนได้เข้าใจแม่นยำ



วันพุธที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

เรียนครั้งที่ 5

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ กฤตธ์ตฤณน์     ตุ๊หมาด
ครั้งที่  5   เวลาเรียน 08.30 - 10.00 น.  12.20 - 15.00 น.



วันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558


ความรู้ที่ได้รับ


วันนี้ทำกิจกรรมทั้งหมด 10 อย่าง ทั้งงานเดี่ยวงานกลุ่มมีทั้งกระดาษทราย กระดาษ A4 สีเทียน สีชอล์ก สีน้ำ ดินเหนียวไว้ในการปั้นต่างๆ รูปร่าง รูปทรงต่างๆได้ฝึกทักษะการจับการบิดและการปั้น ได้ความรู้เยอะแยะมากมายเลยค่ะได้ประสบการณ์ในการทำทั้งประสบการณ์ใหม่และประสบการณ์การเดิมที่นำมาบรูณาการเข้าด้วยกันทำให้เกิดผลงานชิ้นใหม่ที่สวยงามและแปลกตา ในเรื่องการใช้สีเทียนวาดรูปลงในกระดาษA4  กระดาษบรูฟ์ และกระดาษทรายในการวาดภาพแล้วตัดตามภาพที่วาดก็จะได้ทักษะการจับกรรไกร การใช้คัดเตอร์กรีดแต่ไม่ค่อยเหมาะกับเด็กมากนักอาจจะเกิดอันตราย การใช้สีชอล์กระบายทับสีเทียนแล้วนำวัสดุที่มันแหลม เช่นไม้จิมฟัน ตะปูมาทำก็จะได้เกิดผลงานที่แปลกตาและ การใช้สีน้ำระบายบนสีเทียนให้เกิดมิติและภาพที่เด่นชัดขึ้นเป็นภาพชิ้ันงานที่ดี 



กิจกรรมชิ้นที่ 1 


(รูปทรงต่างๆ)

กิจกรรมนี้ฝึกการใช้จินตนาการและการใช้กล้ามเนื้อมือในการวาดรูปเป็นรูปทรงต่างๆมาบรูณาการเข้ากับศิลปะและการระบายสีให้เกิดสีสันสวยงาม



กิจกรรมชิ้นที่ 2 





(อะรึบึจึ)

กิจกรรมนี้ฝึกอะไรหลายๆอย่างทั้งกล้ามเนื้อเล็ก-ใหญ่ในการระบายสีเทียนแล้วต่อด้วยระบายสีชอล์กทับและการคิดสร้างสรรค์ผลงานด้วยการนำอุปกรณ์เช่นไม้จิมฟัน ตะปูมาวาดลวดลายบนกระดาษจะทำให้เกิดเรื่องราวความสวยงามอีกมิติหนึ่ง




กิจกรรมชิ้นที่ 3


(ผีเสื้อแสนสวย)

กิจกรรมนี้ได้ในเรื่องการฝึกใช้สายตาและมือในการฝนตามรูปภาพที่มีอยู่แล้วแต่ใช้หลับการฝนด้วยสีทำให้สีสันออกมาแปลกตา


กิจกรรมชิ้นที่ 4


(ช้างน้อย)

กิจกรรมนี้ การวาดกระดาษทราย โดยวาดเป็นตัวช้างน้อย ฝึกทักษะการภาประสานสัมพันธ์ระหว่างตากับมือและการใช้กรรไกรในการตัดเป็นรูปภาพการใช้คัดเตอร์ในการกรีดเป็นรูปทรงต่างๆเช่น ตาให้ดูคล้ายมากขึ้น

กิจกรรมชิ้นที่ 5



การปั้น


(จระเข้แสนน่ารัก)

กิจกรรมการปั้นเป็นรูปร่าง รูปทรงกิจกรรมนี้ได้ทักษะการใช้กล้ามเนื้อเล็กกล้ามเนื้ใหญ่ในการบิด การปั้น การนวดเพื่อให้ดินเข้าเป็นรูปร่างที่เราจะปั้น

กิจกรรมชิ้นที่ 6




( กบ)

กิจกรรมนี้ได้ฝึกทักษะการใช้กล้ามเนื้อมือในการวาดรูปด้วยสีเทียนและการขยำให้เกิดมิติที่สวยงามและการใช้สีน้ำระบายทับให้เห็นเป็นรูปภาพที่เราวาดจะใช้เป็นสีขวาแทนในการวาดภาพทำให้ไม่ค่อยเด่นชัดนักแต่ก็สวยงามไปอีกแบบ


กิจกรรมชิ้นที่ 7



(หัวใจหลายดวง)

กิจกรรมนี้ได้ฝึกทักษะการใช้กล้ามเนื้อมือในการวาดรูปด้วยสีเทียนและการขยำให้เกิดมิติที่สวยงามและการใช้สีน้ำระบายทับให้สีเด่นชัดขึ้นมีลักษณะสีเส้นขอบสวยงามกว่าการใช้สีเทียนสีขาวในการวาดภาพทำให้รูปภาพออกมาสวยอีกมิติหนึ่ง

กิจกรรมชิ้นที่ 8


(อาจารย์บาส)
กิจกรรมนี้อาจจะทำอยากหน่อยในการวาดภาพเพราะเป็นผ้าไม่ค่อยเหมาะกับเด็กกิจกรรมนี้ แต่ได้ฝึกทักษะการใช้กล้ามมือ ในการระบายสีและกล้ามเนื้อใหญ่เล็กในการวาดภาพ

กิจกรรมชิ้นที่ 9


(สวนสัตว์)

กิจกรรมนี้ใช้การวาดรูปด้วยการเอาสีเทียนหลายสีมาใช้ในการวาดเพื่อที่จะได้เส้นออกมาที่หลากหลายและวาดเป็นเรื่องราว

กิจกรรมชิ้นที่ 10




(ศิลปะร่วมมือเป็นรูปทรง พื้นผิว )

กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมศิลปะแบบร่วมมือในการทำ ลวดลายต่างๆอาจจะเป็นพื้นปูน ใบไม้ และพื้นผิวของภาพให้ออกมาเป็นเรื่องราว ฝึกทักษะการใช้กล้ามเนื้อมือในการระบายและได้ความรักความสามัคคีภายในกลุ่มช่วยเหลือกันทำผลงานออกมาเป็นชิ้นงานที่สวยงาม




การนำไปใช้

1.สามารถนำกิจกรรมที่ทำวันนี้แต่ละกิจกรรมไปปรับใช้กับเด็กเช่นการวาดภาพระะบายสีด้วยสีเทียน

2.สามารถนำเทคนิคการสอนและขั้นตอนที่อาจารย์บอกนำไปใช้และบรูณราการกับการเรียนวิชาอื่นๆได้ในเรื่องการทำกิจกรรมศิละ
3.สามารถนำประสบการณ์เดิมในการวาดภาพมาบรูณาการใช้กับประสบการณ์ใหม่ได้เพื่อผลงานจะได้ออกมาแปลกตา
4.สามารถฝึกทักษะการใช้กล้ามเนื้อมือ กล้ามเนื้อเล็ก-ใหญ่ในการวาดระบายสี และการปั้น 


การประเมินผล


ประเมินตัวเอง

-วันนี้แต่งกายมาผิดระเบียบเพราะใส่เสื้อมาผิดวันคิดว่าเรียนพุธต้องใส่ชุดพละแต่ต้องใส่ชุดชมพู มาเรียนตรงเวลาและตั้งใจฟังอาจารย์สอนและแนะนำกิจกรรมที่ต้องทำอะไรบ้างภายใน 10 กิจกรรมของวันนี้ กิจกรรมแรกรู้สึกทำนานมากเพราะเนื่องมาจากไม่ค่อยใช้สีเทียนในการเรียนในชีวิตประจำวันและไม่ค่อยมั่นใจในการวาดรูปจากสีเทียนเท่าไหร่ทำให้ผลงานที่ออกมาดูล่าช้าแต่ก็ทันเสร็จ 10 ชิ้นที่อาจารย์กำหนดในเวลาและช่วยเพื่อนๆทำงานกลุ่มที่ได้รับมอบหมาย

ประเมินเพื่อน

-เพื่อนๆมาเรียนตรงเวลา แต่เพื่อนบางคนก็แต่งกายไม่ถูกระเบียบมีใส่สีดำมาบ้าง ตั้งใจทำกิจกรรมกันมาก เวลาอาจารย์สั่งแต่ละกิจกรรมเพื่อนๆทำเสร็จกันเร็วและแต่ละชิ้นงานที่เพื่อนทำบางคนก็สวยมากๆและช่วยกันทำงานกลุ่มที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มที่

ประเมินอาจารย์

-อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อย พูดจาไพเราะ แต่กวนนิดๆ เข้าสอนตรงเวลาแต่วันนี้อาจารย์ให้ไปทำกิจกรรมข้างล่างที่ใต้ตึกคณะมนุษย์เพื่อที่จะทำงานได้สะดวก อาจารย์สั่งทำกิจกรรมทั้งหมด 10กิจกรรมแต่ละอย่างบอกวิธีการทำว่าจะต้องเริ่มตรงไหนก่อนและเดินดูเวลาทำกิจกรรมของแต่ละกลุ่มว่าทำแบบไหนบ้างถึงไหนแล้วและจะเข้าไปพูดคุยทักท้ายโดยอาจารย์จะไม่อยู่นิ่งนั่งรออย่างเดียวแต่กลับเดินไปดูผลงานของนักศึกษาทำให้นักศึกษาแต่ละคนทำงานออกมาเสร็จตามเวลาและสวยงาม





วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

เรียนครั้งที่ 4

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ กฤตธ์ตฤณน์     ตุ๊หมาด
ครั้งที่  4  เวลาเรียน 08.30 - 10.00 น.  12.20 - 15.00 น.




วันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ 2558


ความรู้ที่ได้รับ

วันนี้เรียนเรื่องวัสดุ อุปกรณ์สำหรับงานศิลปะเด็กปฐมวัย




วัสดุที่ใช้ในงานศิลปะ
            วัสดุที่ใช้ในการทำผลงานทางศิลปะอาจเป็นวัสดุที่มีขายทั่วไปหรือเป็นวัสดุจากธรรมชาติ หรือที่มีในท้องถิ่น และเหมาะสมกับวัยและวุฒิภาวะของเด็ก หลีกเลี่ยงวัสดุที่เป็นอันตรายกับเด็ก เช่น วัสดุที่มีปลายแหลม คมแตกหักง่าย  ภาชนะที่เคยบรรจุสารเคมี 





วัสดุที่ใช้ในงานศิลปะของเด็กปฐมวัย

กระดาษ :เป็นวัสดุที่สามารถนำมาใช้สร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะ    ได้อย่างกว้างขวาง เพราะ หาง่าย ราคาไม่แพง เป็นวัสดุที่เด็กคุ้นเคย เช่น กระดาษวาดเขียน  กระดาษปรู๊ฟ กระดาษโปสเตอร์สีต่างๆ กระดาษมันปู กระดาษจากนิตยสารที่ไมใช้แล้ว
กระดาษวาดเขียน :ซึ่งมีความหนาไม่เท่ากัน ที่เรียกเป็นปอนด์ มี 60  80  100 ใช้ได้ดีกับงานวาดรูป ระบายสีทุกชนิดสำหรับเด็ก
กระดาษโปสเตอร์ :มีทั้งชนิดหน้าเดียว และสองหน้า ทั้งหนาและบาง สีสดใส หลากสี ราคาค่อนข้างแพง ใช้ในงานตัด ประดิษฐ์เป็นงานกระดาษสามมิติเป็นส่วนมาก
กระดาษมันปู :เป็นกระดาษผิวเรียบมันด้านหนา ด้านหลังเป็นสีขาว มีสีทุกสี เนื้อบาง เหมาะกับการทำศิลปะประเภทฉีก ตัด พับ ปะกระดาษ
กระดาษจากนิตยสาร:เป็นกระดาษที่เหมาะในการนำมาใช้กับเด็กเล็กๆ เพราะไม่ต้องซื้อหา เพียงแต่สะสมไว้ ซึ่งสามารถใช้แทนกระดาษมันปูได้เป็นอย่างดี
กระดาษหนังสือพิมพ์ :เป็นกระดาษที่ใช้ได้เช่นเดียวกับกระดาษนิตยสาร แต่จะบางกว่า แต่หมึกอาจเลอะมือเด็กได้มากกว่า แต่ก็มีขนาดใหญ่ใช้ในการรองปูโต๊ะหรือพื้นกันเปื้อน ใช้ในงานที่ต้องการกระดาษชิ้นใหญ่ๆ เช่นการทำหุ่นตัวใหญ่ๆ

สีที่ใช้ในงานศิลปะของเด็กปฐมวัย

 สี เป็นวัสดุที่ดึงดูดความสนใจของเด็กเป็นอย่างมาก สีที่ใช้ในงานศิลปะของเด็กปฐมวัย เช่น สีเทียน สีฝุ่น สีโปสเตอร์ สีผสมอาหาร สีจากธรรมชาติต่างๆ 




    สีเทียน ( Caryon ) คือสีที่ผสมกับขี้ผึ้งแล้วทำเป็นแท่ง มีหลายสีหลายขนาด สีเทียนที่ดีควรมีสีสด ไม่มีไขเทียนมากเกินไป สีเทียนที่มีราคาถูกมักมีส่วนผสมของขี้ผึ้งมากกว่าเนื้อสี เมื่อนำมาใช้จะได้สีอ่อนๆ ใสๆ ไม่ชัดเจน มีเทียนไขเกาะกระดาษหนา ควรเลือกชนิดที่มีเนื้อสีมากกว่าเนื้อเทียนมีสีสดแท่งโต เพื่อเด็กหยิบจับถนัดมือกว่าแท่งเล็กและไม่หักง่าย หากซื้อเป็นกล่องควรเปิดดูที่มีสีสดๆ สีเข้มๆมากกว่าสีอ่อนๆถ้าไม่มีสีขาวเลยจะดีกว่าเพราะเด็กใช้สีขาวน้อย              

     สีชอล์กเทียน (oil pasteal)  เป็นสีที่มีราคาแพงกว่าสีเทียนธรรมดา โดยทั่วไปคล้ายสีเทียน เป็นสีชอล์กที่ผสมน้ำมันหรือไข สีสดใส เนื้อนุ่ม สีหนา เมื่อระบายด้วยสีชนิดนี้แล้ว สามารถใช้เล็บ นิ้วมือ หรือกระดาษทิชชู ตกแต่ง เกลี่ยสีให้เข้ากันคล้ายรูปที่ระบายด้วยสีน้ำมัน สีชอล์กมักจะทำเป็นแท่งกลมเล็กๆ และมีสีมากเกินไปเหมาะสำหรับเด็กโตมากกว่าเด็กเล็ก
   

สีเทียนพลาสติก (plastic racyon)  ผลิตขึ้นจากสีและพลาสติกผสม ทำเป็นแท่งเล็กๆ แข็ง มีสีสดหลายสี ใช้ระบายสีง่าย เหลาได้เหมือนดินสอ จึงสามารถระบายในส่วนที่มีรายละเอียดได้และสามารถใช้ยางลบธรรมดาลบบางส่วนที่ไม่ต้องการออกได้ แต่มีราคาแพงมาก

สีเมจิก  (Water color) บรรจุเป็นด้ามคล้ายปากกามี 2 ชนิด คือชนิดปลายแหลมและปลายตัด  เป็นสีที่สว่างสวยงามและสดใส เหมาะสำหรับการขีดเขียนลายเส้น หรือการเขียนตัวหนังสือแต่อาจไม่เหมาะสำหรับเด็กระบายสีเนื้อที่กว้าง แต่เด็กเล็กๆ จะชอบเพราะใช้สะดวก สีสด แห้งเร็ว ถ้าเปื้อนล้างออกง่าย

ปากกาปลายสักหลาด(felt pen) บางทีเรียก ปากกาเคมี เป็นปากกาพลาสติก ปากเป็นสักหลาดแข็ง ภายในบรรจุด้วยหลอดสี เมื่อเขียนหมึกจะไหลซึมผ่านปากสักหลาดมาสู่พื้นกระดาษให้สีสดใสมาก ไม่เหมาะในการระบายพื้นที่กว้าง ถ้าทิ้งไว้นานๆ สีจะซีดเร็ว ควรให้เด็กสวมปลอกปากกาทุกครั้งที่เขียนเสร็จ



ดินสอ (pencil) เด็กๆ ส่วนมากอยากใช้ดินสอในการวาดรูป เหมือนผู้ใหญ่ทำกัน แต่อย่างไรก็ดี ไม่ควรใช้ดินสอเป็นเครื่องมือในการวาดรูปสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 7 ปี เพราะการเสดงออกตามธรรมชาติของเด็กจะหดหายไป



ดินสอสี (color pencil)หรือสีไม้ ดินสอสีก็เช่นเดียวกับดินสอ คือเหมาะสำหรับเด็กโตๆ มากกว่าเด็กเล็กๆ เพราะนอกจากจะหัก ทู่ง่าย ต้องเหลาบ่อยๆ มีราคาแพงมากเมื่อเทียบกับเทียนหรือสีประเภทผสมน้ำ


สีที่ต้องผสมน้ำหรือเป็นน้ำสีประเภทนี้ ได้แก่ สีฝุ่น สีน้ำ    สีโปสเตอร์ สีผสมอาหาร     สีพลาสติกผสมน้ำ  สีแต่ละประเภทมีลักษณะเฉพาะ


สีที่ใช้ในงานศิลปะของเด็กปฐมวัย          

สีฝุ่น (tempera) เป็นสีผง ทึบแสง มีหลายสี ใช้ผสมน้ำให้ใสข้นเป็นครีมอาจผสมกาวหรือแป้งเปียกด้วย ขึ้นอยู่กับงานแต่ละชนิด มีราคาถูกกว่าสีประเภทอื่น เก็บไว้ใช้ได้นาน มีขายตามร้านเครื่องเขียนทั่วไป เวลาใช้ต้องผสมกับของเหลวที่เหมาะสม นอกจากน้ำแล้วก็มีน้ำนม น้ำแป้ง


สีโปสเตอร์ (poster color) ก็คือสีฝุ่นที่ผลิตบรรจุขวดขาย เป็นสีทึบแสง มีหลายสีใช้ผสมน้ำ เป็นสีที่ผสมเสร็จเรียบร้อยแล้วพร้อมใช้เลย ลักษณะคล้ายครีมมีราคาแพงกว่าสีฝุ่น เป็นสีที่เด็กๆ ใช้ง่าย แต่ถ้าต้องการสีอ่อนๆ จะผสมน้ำไม่ได้ จะต้องใช้สีขาวผสมจะได้สีอ่อน ระบายได้เรียบ

สีน้ำ (water color) เป็นสีโปร่งแสง ไหล ผสมกลมกลืนง่าย สามารถใช้ในส่วนที่เป็นรายละเอียดได้ มีทั้งที่เป็นหลอดและก้อนใช้กับพู่กันกลมหรือพู่กันแบนขนนุ่มช่วยระบาย น้ำเป็นตัวละลายให้ได้สีเข้มหรือเจือจางต่างกันออกไป เด็กเล็กๆ มักจะไม่ค่อยชอบใช้สีน้ำ เพราะเด็กช่วงนี้หากใช้สีน้ำในช่วงนี้ 


สีพลาสติก (plastic or acrylic) มีขายตามร้านวัสดุก่อสร้าง บรรจุในกระป๋องหลายขนาด และแบบในหลอด ราคาสูง มีเนื้อสีข้น ระบายได้เนื้อสีหยาบ มีกลิ่น เหมาะกับงานใหญ่ที่ไม่ต้องใช้รายละเอียดมากนัก สามารถใช้แทนสีฝุ่นหรือสีน้ำได้ ข้อเสียคือ แปรงหรือพู่กันจะต้องจุ่มไว้ในน้ำเสมอ ขณะที่พักการใช้ชั่วคราว และจะต้องล้างอย่างดีหลังจากเลิกใช้แล้ว เนื่องจากสีมีคุณสมบัติแห้งเร็วจะทำให้พู่กันหรือแปรงแข็งใช้ไม่ได้



 สีจากธรรมชาติ
สีจากธรรมชาติจะเป็นสีที่ได้จาก ผัก ผลไม้ ดอกไม้ ใบไม้ ลำต้น ราก หรือ เปลือกของพืช ดิน เป็นสีที่ไม่สารเคมีเจือปน จึงไม่เป็นอันตราย แก่เด็ก 


วัสดุในการทำศิลปะ
กาว  :กาวที่เหมาะสมกับเด็กมากที่สุดคือกาวที่กวนเองจากแป้งมันหรือแป้งข้าวเหนียวเรียกว่าแป้งเปียก ราคาถูก ใช้งานได้ง่ายกว่ากาวชนิดอื่นๆไม่เหนียวเหนอะหนะหรือยืดยาวเป็นเส้น ล้างออกง่าย นอกจากนี้ยังมี กาวน้ำ และ กาวลาเท็กซ์ ส่วนกาวถาวร หรือนิยมเรียกกันว่า กาวตราช้าง หรือกาวร้อน



วัสดุที่ใช้ในการทำศิลปะ
ดินหนียว  : หรือดินตามธรรมชาติมีมากในต่างจังหวัด ขุดหาได้ทั่วไป มีความนิ่มเหนียว นำมาใช้ปั้น ตากแห้งหรือเผาเป็นเครื่องปั้นดินเผาได้ ระบายสีได้
ดินน้ำมัน : เป็นดินที่มีส่วนผสมของน้ำมันผสมอยู่ มีกลิ่นแรง เนื้อนิ่มเมื่อโดนความร้อน และแข็งได้เมื่อเจออากาศเย็น เหนียวติดมือไม่เหมาะกับเด็กเล็กๆ
ดินวิทยาศาสตร์ : มีลักษณะนิ่ม มีหลายสี ไม่เหนียวติดมือเหมือนดินน้ำมัน และมักจะไม่มีสารเคมีที่เป็นอันตรายเจือปน จึงเหมาะสำหรับเด็ก







วัสดุที่ใช้ในการทำศิลปะ






อุปกรณ์ที่ใช้ในศิลปะ

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสี
1.สีเป็นองค์ประกอบของศิลปะที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึกมากกว่าองค์ประกอบชนิดอื่น
2.สีเป็นวัตถุที่ได้จากธรรมชาติหรือจากที่มนุษย์สังเคราะห์ขึ้นมา
- สีจากธรรมชาติ เช่น สีของดอกไม้ ใบไม้ ผล ราก ลำต้น
- สีจากการสังเคราะห์ขึ้นมา เช่น สีน้ำ สีโปสเตอร์ สีอะคริลิก สีฝุ่น สีน้ำมัน สีทาบ้าน สีพลาสติก ฯลฯ





ทฤษฎีสี
สีขั้นที่ 1 

สีขั้นที่ 2 





 สีขั้นที่ 2






สีขั้นที่ 3


วรรณะสีร้อน





วรรณะสีเย็น




สีคู่ปฏิปักษ์


เหลือง-ม่วง
เขียว- แดง
น้ำเงิน-สีส้ม
ม่วงน้ำเงิน - ส้มเหลือง


อิทธิพลของสีที่ให้ความรู้สึก
สีเหลือง :ร้อนและเย็น สว่าง เลื่อมใส น่าศรัทธา สดชื่น
สีแดง  :ร้อนรุนแรง ตื่นเต้น เร้าใจ
สีเขียว:เย็น เจริญงอกงาม สดชื่น
สีน้ำเงิน :เย็น สงบเงียบ ความมั่นคง ความอุดมสมบูรณ์
สีม่วง :เศร้า ลึกลับ ร้อนและเย็น มีเสน่ห์
สีส้ม :ร้อน รุนแรง ตื่นเต้น
สีน้ำตาล:ความแห้งแล้ง น่าเบื่อหน่าย
สีดำ :เศร้า มืด หนักแน่น น่ากลัว
สีเทา :สงบ สบายใจ เคร่งขรึม
สีขาว :สะอาด บริสุทธิ์ เรียบง่าย สว่าง
สีฟ้า :สว่าง มีชีวิตชีวา
สีชมพู :ร่าเริง สดใส



จากนั้นอาจารย์แจกกระดาษให้ 2 แผ่น คือ กิจกรรมการวาดกระดาษร่างจุดเป็นภาพ สิ่งมีชีวิตกับสิ่งที่ไม่มีชีวิตให้กลับไปทำที่บ้านทำเป็นเค้าโครงมาก่อนก็ได้หรือทำมาเสร็จสมบรูณ์ก็แล้วแต่จะทำและงานเก่าอาจารย์ให้เอามาส่งวันพฤหัสบดี ให้ครบ 5 ชิ้น







วันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ 2558


วันนี้อาจารย์ให้ทำกิจกรรมวาดกระดาษร่างจุดเป็นภาพสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิตต่อจากทำที่บ้านและส่งกิจกรรมงานเก่า 


กิจกรรมวันนี้

สิ่งที่ไม่มีชีวิต(รถไฟปู๊นปู๊น)
                           สิ่งมีชีวิต(น้องช้างน้อย)


ผลงานวันนี้

 





กิจกรรมงานเก่า

 กิจกรรมลายเซ็น

กิจกรรมงานต่อเติม

 กิจกรรมออกแบบลวดลาย






การนำไปใช้

1.สามารถนำเทคนิคการสอนของอาจารย์ไปปรับใช้กับเด็กได้เวลาไปเป็นครูในอนาคต
2.สามารถคิดและต่อยอดการทำกิจกรรมที่ง่ายๆและเหมาะสมกับเด็กได้
3.สามารถรู้จักวัสดุอุปกรณ์แต่ละชนิดว่าสิ่งไหนควร สิ่งไหนที่ไม่ควรนำไปปรับใช้สอนเด็ก
4.สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้เรียนวันนี้นำไปปรับใช้กับวิชาอื่นๆ
5.สามารถนำประสบการณ์การเดิมที่เคยเรียนมาและประสบการณ์ที่ได้รับในปัจจุบันมาปรับใช้ให้เป็นประสบการณ์ใหม่ที่ดียิ่งขึ้น


การประเมินผล



ประเมินตัวเอง 

- มาเรียนตรงเวลาทั้ง 2 วัน เลยค่ะ แต่งกายเรียบร้อยและตั้งใจเรียนแต่อาจจะเพลีย ง่วงนึดนึง เพราะตื่นเช้าแต่ก็ตั้งใจจดบันทึกและตั้งใจฟังอาจารย์พูดและไม่คุยกันกับเพื่อนเสียงดัง

ประเมินเพื่อน

-เพื่อนๆ ตั้งใจเรียนและตั้งใจจดบันทึกคำพูดที่อาจารย์สอน อาจจะมีพูดเถียงกับอาจารย์บ้างแต่ก็สนุกและมีความสุขในการเรียนวิชาศิลปะ

ประเมินอาจารย์ 

-อันดับแรกเลย อาจารย์แต่งกายเรียบร้อยมาก เข้าสอนก็ตรงเวลา และมีเทคนิคการสอนที่ดี พูดอธิบายในการสอนได้ละเอียดมากๆ แต่อาจจะกวนๆหน่อยนึดนึงแต่ก็มีความสุขและสนุกกับการเรียน อาจารย์มีการยกตัวอย่างนอกเหนือจากในสไลค์ มีสิ่อที่น่าสนใจ สไลค์อาจจะเยอะบ้างแต่อาจารย์ก็พูดอธิบายให้เข้าใจและทันเวลา