วันอาทิตย์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2558

เรียนครั้งที่ 2

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ กฤตธ์ตฤณน์     ตุ๊หมาด
ครั้งที่  2  เวลาเรียน 08.30 - 10.00 น.  12.20 - 15.00 น.

วันพุธที่ 21 มกราคม พ.ศ 2558


ความรู้ที่ได้รับ

อาจารย์อธิบายการวาดภาพด้วยมือ
   
ใบงาน

ผลงาน" ศิลปะด้วยมือเรา"




นำผลงานไปติดที่กระดาน


นำผลงานที่ทำเสร็จตัดขอบหรือพับเอาไปติดที่บอร์ดหรือเป็นศิลปะแบบร่วมมืออีกอย่างหนึ่งที่สวยงาม




วันพุธที่ 21 มกราคม พ.ศ 2558



อาจารย์พูดอธิบายในการสอน


เรื่องที่เรียน  การจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย




ศิลปะ แต่เดิมหมายถึง งานช่างฝีมือ เป็นงานที่มนุษย์ใช้สติปัญญาสร้างสรรค์ขึ้นด้วย ความประณีต  วิจิตรบรรจง ฉะนั้นงานศิลปะจึงไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่เป็น ผลงานที่มนุษย์ใช้ปัญญา ความศรัทธา และความพากเพียรพยายามสร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่
"ศิลปะเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นจากความคิดสร้างสรรค์ เพื่อให้เกิดความงาม และความพึงพอใจ
-Art มีรากฐานมาจาก ภาษาลาตินว่า Ars  หมายถึง ทักษะหรือความชำนาญหรือความสามารถพิเศษ
ศิลปะในภาษาไทยมาจากภาษาสันสกฤตว่า ศิลปภาษาบาลีว่าสิปป มีความหมายว่าฝีมืออันยอดเยี่ยม

ปรัชญาศิลปศึกษา
-มุ่งสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์
-เป็นเครื่องมือในการแสดงออกและใช้ความคิดสร้างสรรค์
-ให้ความสำคัญกับกระบวนการสร้างสรรค์งาน

ความสำคัญของศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
ตอบสนองความต้องการของเด็กปฐมวัย
          - เด็กชอบวาดรูปขีดๆเขียนๆ
          - เด็กมีความคิดจินตนาการ
          - เด็กใช้ถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดที่บางครั้งไม่สามารถ พูด อธิบายได้

ความสำคัญของการจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
เป็นพื้นฐานทางการศึกษาที่สำคัญสำหรับเด็กปฐมวัย
          - ร่างกาย  อารมณ์-จิตใจ  สังคม   สติปัญญา
ช่วยจัดสรรประสบการณ์ที่มีผลต่อการเรียนรู้ให้กว้างมากขึ้น
         - กระบวนการทางศิลปะจะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ตนเอง และสิ่งแวดล้อมมากขึ้นตามวัย

ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความคิดสร้างสรรค์
-ทฤษฎีโครงสร้างทางสติปัญญาของกิลฟอร์ด
-ทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ของทอร์แรนซ์
-ทฤษฎีความคิดสองลักษณะ
-ทฤษฎีพหุปัญญาของการ์ดเนอร์
-ทฤษฎีโอตา

พัฒนาการทางศิลปะ

เคลล็อก (Kellogg)ศึกษางานขีดๆเขียนๆของเด็กปฐมวัย และจำแนกขั้นตอนออกเป็น 4 ขั้นตอน ทำให้เข้าใจถึงความสำคัญของงานขีดๆเขียนๆทางศิลปะที่มีผลเชื่อมโยงกับพัฒนาการของเด็ก 4 ขั้นตอน มีดังนี้  ขั้นขีดเขี่ย ขั้นเขียนเป็นรูปร่าง ขั้นรู้จักออกแบบ และขั้นการวาดแสดงเป็นภาพ

ขั้นที่ 1 ขั้นขีดเขี่ย
-เด็กวัย 2 ขวบ
-ขีดๆเขียนๆตามธรรมชาติ
-ขีดเขี่ยเป็นเส้นตรงบ้าง โค้งบ้าง

ขั้นที่ 2 ขั้นเขียนเป็นรูปร่าง
-เด็กวัย 3 ขวบ
-การขีดๆเขียนๆเริ่มเป็นรูปร่างขึ้น

ขั้นที่ 3 ขั้นรู้จักออกแบบ
-เด็กวัย 4 ขวบ
-ขีดๆเขียนๆที่เป็นรูปร่างเข้าด้วยกัน
-วาดโครงสร้างหรือเค้าโครงได้
-วาดสี่เหลี่ยมได้

ขั้นที่ 4 ขั้นการวาดแสดงเป็นภาพ
-เด็กวัย 5 ขวบขึ้นไป
-เริ่มแยกแยะวัตถุที่เหมือนกับมาตรฐานของผู้ใหญ่ได้
-รับรู้ความเป็นจริง เขียนภาพแสดงถึงภาพคน/ สัตว์ได้


ผลงานของเด็ก



การนำไปใช้
1.สามารถนำศิลปะไปปรับประยุกต์ใช้กับเด็กในอนาคตได้
2.สามารถนำทฤษฎีและหลักการต่างๆไปใช้ควบคู่กับการเรียนวิชาอื่นๆได้เวลาจัดประสบการณ์ในการเรียนการสอน
3.สามารถนำเทคนิควิธีการสอนของอาจารย์ไปปรับใช้กับเด็กได้เวลาจัดกิจกรรมต่างๆ


การประเมินผล

ประเมินตัวเอง
-วันนี้ตั้งใจเรียนและตั้งใจทำกิจกรรมไม่คุยกันกับเพื่อนเสียงดัง ตั้งใจวาดรูปและตั้งใจทำผลงานออกมาตามเวลาที่อาจารย์กำหนด


ประเมินเพื่อน
-เพื่อนๆบางคนอาจะมาสายแต่ก็สามารถทันเช็คชื่อและตั้งใจเรียนและทำงานในกิจกรรมที่อาจารย์มอบหมายในเรื่องวาดมือและเรื่องการเรียนในชีคศิลปะสร้างสรรค์คืออะไร หลักหารและนักทฤษฎีต่างๆที่เกี่ยวข้องกับศิลปะในเรื่องรูปภาพ จิตรกรรม ประติมากรรมเป็นต้น


การประเมินอาจารย์
-อาจารย์มีเทคนิคการสอนโดยมีการพูดคุยกับนักศึกษาพอทำงานเสร็จแต่ละชิ้นมีการอธิบายและยกตัวอย่างและสามารถนำไปปรับใช้กับเด็กได้ในเรื่องต่างๆและมีขั้นตอนการทำงานที่ละเอียด



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น